หัวใจชายหนุ่ม
ประวัติผู้แต่ง
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นพระมหากษัตริย์รัชกาลที่
๖ แห่งพระบรมราชวงศ์จักรี ทรงพระปรีชาสามารถทั้งด้านการทหาร การปกครอง
การต่างประเทศ และโดยเฉพาะด้านทั้งษรศาสตร์
พระองค์ทรงพระราชนิพนธ์งานประพันธ์หลายประเทศ เช่น บทละคร บทความ สารคดี นิยาย
เรื่องสั้น พระบรมราโชวาท พระราชหัตถเลขา
และทรงใช้พระราชนิพนธ์เป็นสื่อแสดงแนวพระราชดำริในเรื่องต่างๆ บทพระราชนิพนธ์หลายเรื่องได้รับการยกย่องจากวรรณคดีสโมสรว่าเป็นยอดของวรรณคดีหรือเป็นหนังสือที่แต่งดี
อาทิ หัวใจนักรบ เป็นยอดของบทละครร้อยแก้ว มัทนะพาธา เป็นยอดของบทละครพูดคำฉันท์
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงทรงได้รับถวายพระราชสมัญญาว่า
“สมเด็จพระมหาธีรราชเจ้า” ซึ่งมีความหมายว่า นักปราชญ์ผู้ยิ่งใหญ่
และยังทรงได้รับการประกาศยกย่องจากองค์การการศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ
(UNESCO) ให้ทรงเป็น ๑ ใน ๕ ของนักปราชญ์ไทย
ที่มาของเรื่อง
หัวใจชายหนุ่ม
เป็นบทพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยทรงใช้พระนามแฝงว่า “รามจิตติ” เพื่อพระราชทานลงพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ “ดุสิตสมิต” เมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๔ ลักษณะการพระราชนิพนธ์เป็นรูปแบบของจดหมาย
มีจำนวน ๑๘ ฉบับ รวมระยะเวลาที่ปรากฏตามจดหมายทั้งหมด ๑ ปี ๗ เดือน พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
ได้ทรงสร้างตัวละครเอกขึ้นโดยสมมติให้มีตัวตนจริง คือ “ประพันธ์
ประยูรสิริ” เป็นผู้ถ่ายทอดความนึกคิดและสภาพของสังคมของสังคมไทยผ่านมุมมองของ “ชายหนุ่ม”(นักเรียนนอก)ในรูปแบบของจดหมายที่ส่งถึงเพื่อนชื่อ “ประเสริฐ สุวัฒน์” เป็นเรื่องที่สะท้อนให้เห็นแนวคิดสำคัญในพระราชดำริของพระองค์ในการค่อยๆปรับเปลี่ยนรับเอาอารยธรรมตะวันตกเข้ามา
ให้ผสมกลมกลืนกับวัฒนธรรมของไทยโดยทรงสื่อพระราชดำรินั้นผ่านตัวละครในเรื่องได้อย่างแยบยล
จุดมุ่งหมาย
๑.เพื่อให้รู้ถึงวิถีชีวิตของชายหนุ่มไทย
๒.แสดงให้เห็นวิธีการเขียนจดหมายที่ถูกต้อง
๓.สื่อถึงพระราชดำหริของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
๔.เข้าใจในความรักของหนุ่มสาวในอดีต
๕.รับรู้การแต่งบทประพันธ์ที่ถูกต้องตามหลักการ
๖.สื่อถึงการแต่งงานแบบคลุมถุงชนในอดีต
๗.สื่อถึงประเพณีการแต่งงานกับชาวต่างชาติว่าแตกต่างกับคนไทยอย่างไร
๘.สื่อถึงชายหนุ่มที่เมื่อไปอยู่ต่างบ้านต่างเมืองเป็นเวลานานอาจแสดงพฤติกรรมของ
วัฒนธรรมตะวันตกแต่ถึงอย่างไรก็ไม่สามารถลืมวัฒนธรรมของถิ่นกำเนิดตัวเองได้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น